https://www.facebook.com/pmatHRsociety https://twitter.com/pmathrsociety https://www.youtube.com/user/PMATVideos http://line.me/ti/p/@pmat
Menu Left
สถาบันพัฒนาวิชาชีพทรัพยากรบุคคล


สถาบันพัฒนาวิชาชีพทรัพยากรบุคคล
Institute of HR Professional Development : IHPD

สถาบันพัฒนาวิชาชีพทรัพยากรบุคคล ชื่อภาษาอังกฤษว่า Institute of HR Professional Development ชื่อย่อ “IHPD” ก่อตั้งเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2549 (เดิมชื่อ สถาบันการจัดการงานบุคคล : Institute of Personal Management : IPM) เป็นส่วนหนึ่งของสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย ดำเนินงานโดยอิสระ ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการ สถาบันฯ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมของสมาคมฯ ทางวิชาการในการวางรากฐานด้านวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคลทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยได้รับการสนับสนุนทรัพยากรจากสมาคมฯ


วิสัยทัศน์ (Vision)
ส่งเสริมวิชาชีพทรัพยากรบุคคลในประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

พันธกิจ (Mission)
พัฒนาวิชาชีพทรัพยากรบุคคลให้มีมาตรฐานในระดับสากล โดยการร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ในการพัฒนาองค์การ สถาบันการศึกษา และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพทรัพยากรบุคคล ให้มีความเป็นมืออาชีพ (Professional) และ มีสภาวิชาชีพรับรองความเป็นมืออาชีพ

1. เครื่องหมายของสถาบันฯ



2. ผังโครงสร้างของสถาบันฯ



 
3. องค์ประกอบของคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ มีจำนวน 11 คนประกอบด้วย
     - นายกฯ และอุปนายกฯ ปัจจุบันของสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย 3 คน
     - ประธานสถาบัน HRCI 1 คน
     - อดีตนายกสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย 3 คน
     - ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน
     หมายเหตุ : การประชุมหากจะครบองค์คณะต้องมีผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนคณะกรรมการสถาบันฯ

4. คุณสมบัติของกรรมการสถาบันฯ
     1. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
     2. ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาให้จำคุก เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ

5. การพ้นตำแหน่งของกรรมการสถาบันฯ
     1. ขาดคุณสมบัติตามข้อบังคับ 4.1 และ 4.2
     2. ถึงคราวออกตามวาระ
     3. ลาออก
     4. ถึงแก่กรรม
     5. เป็นผู้มีความประพฤติและปฏิบัติตนเป็นที่เสื่อมเสีย และคณะกรรมการสถาบันมีมติให้ออก โดยมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ

รายชื่อคณะกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาวิชาชีพทรัพยากรบุคคล ชุดปัจจุบัน
1.ศาสตราจารย์พิศิษฐ์ ดร. จำเนียร จวงตระกูล ที่ปรึกษาสถาบันฯ
2.ดร.ธนิต โสรัตน์                                         ที่ปรึกษาสถาบันฯ
3.นายสุวิทย์ สุมาลา                                     ที่ปรึกษาสถาบันฯ
4.นางสาวบุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์                   ที่ปรึกษาสถาบันฯ
5.นายวรพงษ์ รวิรัฐ                                      ประธานคณะกรรมการฯ
6.นางมาริสา เชาว์พฤฒิพงศ์                         รองประธานคณะกรรมการฯ
7.นายวิโรจน์ สิริจันทานนท์                           กรรมการฯ
8.ดร.บวรนันท์ ทองกัลยา                             กรรมการฯ
9.นายบุญเกียรติ เมธีทัศนีย์                          กรรมการฯ
10.นายพิบูลย์ ธาระพุทธิ                              กรรมการฯ
11.นางสุภาพร จันทร์จำเริญ                         กรรมการฯ
12.รศ.ดร.จิรประภา อัครบวร                         กรรมการฯ
13.นายโกวิท พวงจิตร                                 กรรมการฯ
14.นายอภิญญา สุจริตตานันท์                      กรรมการฯ
15.นายเกษม เฉลิมธนะกิจโกศล                   กรรมการและเลขานุการ

กรรมการสถาบันฯ อยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี


โครงสร้างการบริหารและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของกรรมการบริหารสถาบันพัฒนาวิชาชีพทรัพยากรบุคคล

(Institute of HR Professional Development)




ตำแหน่งและหน้าที่ความรับผิดชอบของกรรมการบริหารสถาบัน  
 
ชื่อตำแหน่ง หน้าที่ความรับผิดชอบ
ประธานสถาบันฯ  ร่วมกับคณะกรรมการสถาบันฯ วางแผนกลยุทธ์ กำหนดแนวทางการดำเนินงาน และการบริหารงานซึ่งเป็นภาระกิจของสถาบันฯ
 กำกับดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของสถาบันฯ และมติของที่ประชุมสถาบันฯ
 เป็นตัวแทนของสถาบันฯในการร่วมประชุมใหญ่ของสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย(PMAT) และรายงานผลการดำเนินงานของสถาบันฯ
 เป็นตัวแทนสถาบันฯ ในการเข้าร่วมประชุม หรือร่วมทำกิจกรรมกับองค์การต่างๆ ในงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของสถาบันฯ
 ลงนามคำสั่งและเอกสารต่างๆ ที่ออกในนามของสถาบันฯ
รองประธานสถาบันฯ  บริหารงานของสถาบันฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจการของสถาบันฯ ตามที่ได้รับมอบหมายจากประธานสถาบันฯ หรือ ตามมติของที่ประชุมสถาบันฯ
 ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานฯ หรือ เมื่อประธานสถาบันฯ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ และลงนามเอกสารของสถาบันฯ ตามที่ได้รับมอบหมาย
กรรมการจัดตั้งสภาวิชาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล  ศึกษา ค้นคว้า และดำเนินการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคล เพื่อผลักดันให้มีการจัดตั้งสภาวิชาชีพทรัพยากรบุคคลที่ได้รับการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย
 ส่งเสริมสถานะภาพผู้ประกอบวิชาชีพนักทรัพยากรบุคคล ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
กรรมการเครือข่ายผู้ประกอบวิชาชีพทรัพยากรบุคคล  ร่วมมือกับสมาคมและชมรมด้านทรัพยากรบุคคลต่างๆ ในการจัดทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีและความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบอาชีพทั้งในและต่างประเทศ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาระกิจของสถาบันฯ และ ตามมติของที่ประชุมสถาบันฯ
 จัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ในด้านทรัพยากรบุคคลระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพด้านทรัพยากรบุคคลจากหน่วยงานทุกภาคส่วน
ส่งเสริมความร่วมมือและสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพทรัพยากรบุคคล
กรรมการเครือข่ายสถาบันการศึกษา  ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่างๆ ในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนา องค์ความรู้และวิธีปฏิบัติด้านทรัพยากรบุคคลให้มีความทันสมัยและนำไปใช้ปฏิบัติได้จริง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาระกิจของสถาบันฯ และ ตามมติของที่ประชุมสถาบันฯ
 สนับสนุนและร่วมพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนด้านทรัพยากรบุคคลของสถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อให้เป็นมาตรฐานระดับสากล สามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้จริงและสอดคล้องกับกฎหมายข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
 จัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ในด้านทรัพยากรบุคคลระหว่างคณาจารย์และผู้ประกอบวิชาชีพด้านทรัพยากรบุคคล
 สนับสนุนงานของสถาบันการศึกษาในการจัดหาที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ หรือที่ปรึกษาในฐานะผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกให้กับนักศึกษาปริญญาโท และปริญญาเอก ด้านทรัพยากรบุคคล รวมถึงร่วมเป็นกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ฯ
กรรมการพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพทรัพยากรบุคคล  สนับสนุนองค์การต่างๆ ในการเข้าร่วมโครงการนวัตกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HR Innovation Award )
 รับรองผลการพิจารณาตัดสินของคณะทำงานโครงการนวัตกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และประกาศเกียรติคุณรางวัล HR Innovation Award ในวันสัมมนา Thailand HR Forum
 เตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพทรัพยากรบุคคล เพื่อการทดสอบความเป็น HR มืออาชีพในระดับต่างๆ
 สนับสนุนงานคณะกรรมการบริหารโครงการที่ปรึกษา โดยการพัฒนาที่ปรึกษาและผู้ช่วยที่ปรึกษา
กรรมการจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพทรัพยากรบุคคล  ทบทวนและปรับปรุงจรรยาบรรณสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพด้าน ทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับกฏระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้อง
 กำกับดูแลจรรยาบรรณสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพด้านทรัพยากรบุคคล และกำหนดมาตรการในการจัดการ ให้มีความชัดเจน
 พิจารณาตรวจสอบกรณีที่มีการร้องขอให้ตรวจสอบจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพด้านทรัพยากรบุคคล และให้คำวินิจฉัย
กรรมการคัดเลือกองค์การ และ HR ดีเด่น  กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการคัดเลือกองค์การที่มีการบริหารทรัพยากรบุคคลดีเด่น และผู้ประกอบวิชาชีพการบริหารทรัพยากรบุคคล ดีเด่น
 ดำเนินการคัดเลือกองค์การและผู้ประกอบการ HR ดีเด่น ร่วมกับคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากสถาบัน ตามหลักเกณฑ์ที่ได้รับความเห็นชอบจากสถาบันฯ
กรรมการบริหารโครงการงานที่ปรึกษาองค์การ  จัดทำระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรการในการควบคุมมาตรฐานการดำเนินโครงการที่ปรึกษา (Consulting Services) เสนอที่ประชุมคณะกรรมการสถาบันฯ เพื่อให้ความเห็นชอบ
 กำกับดูแลการให้บริการงานที่ปรึกษาองค์การโครงการต่างๆ ให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ และมาตรฐาน ที่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมสถาบันฯ
 จัดทำทำเนียบผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาโครงการด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลและองค์การในด้านต่างๆ เพื่อเชิญเข้าร่วมโครงการที่ปรึกษากับสถาบันฯ
สร้างและพัฒนาที่ปรึกษาประจำสถาบันฯ
กรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูล HR  จัดทำฐานข้อมูลด้าน HR เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบัน IHPD สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย( PMAT ) และเพื่อการศึกษาค้นคว้าของผู้ประกอบวิชาชีพทรัพยากรบุคคลและผู้สนใจทั่วไป
 บริหารจัดการฐานข้อมูลให้มีความทันสมัย ปลอดภัย และสะดวกในการใช้งาน ของสถาบันฯ สมาคม และการให้บริการแก่สมาชิกสมาคม รวมถึงผู้ประกอบวิชาชีพทรัพยากรบุคคลและผู้สนใจทั่วไป
เลขานุการสถาบันฯ  รับผิดชอบการจัดเตรียมการประชุม บันทึกรายงานการประชุมและติดตามการดำเนินการตามคำสั่ง หรือมติของที่ประชุมคณะกรรมการสถาบันฯ
 รับผิดชอบการจัดทำรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินงานของสถาบันฯเพื่อแถลงต่อที่ประชุมใหญ่และแจ้งให้สมาชิกทราบ
 ควบคุมดูแลงานด้านเอกสาร หนังสือ และประกาศของสถาบันฯ ตามที่ได้รับมอบหมายจากประธานสถาบันฯ หรือตามมติที่ประชุม