กลยุทธ์ฟื้นฟูองค์กร หลังพ้นวิกฤต COVID-19
จากการระบาดของ COVID-19 ทำให้กว่า 4 ใน 5 ของคนทำงานทั่วโลกได้รับผลกระทบที่เกิดจากการ Lockdown และการ Work form home
องค์กรส่วนใหญ่รับมือกับวิกฤตนี้ โดยให้ความสำคัญกับสุขภาพและความปลอดภัยของพนักเป็นอันดับแรก ซึ่ง ณ ปัจจุบัน องค์กรเริ่มที่จะมีการวางแผนการจัดการกับความท้าทายที่จะต้องฟื้นฟูธุรกิจหลังจากนี้
Deloitte's 2020 Global Human Capital Trends report
ได้ให้แนวทางในกู้คืนประสิทธิภาพของพนักงาน ซึ่งควรให้ความสำคัญกับ "3Ps" ต่อไปนี้
1. Purpose: การกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์กรควรมีการบูรณาการความอยู่ดีมีสุข (Well-being) และความมีส่วนร่วมพนักงานอยู่ในหนึ่งภารกิจและการทำงานขององค์กร
2. Potential: การหาศักยภาพของพนักงานและทีม
3. Perspective: มุมมองที่เน้นการขับเคลื่อนไปสู่อนาคตอย่างเข้มแข็ง
เมื่อองค์กรมีการพิจารณาปัจจัย 3Ps แล้ว กลยุทธ์ที่จะช่วยให้องค์กรสามารถฟื้นฟูประสิทธิภาพของพนักงานคือการวางรากฐานที่แข็งแรง พร้อมที่จะเติบโตขึ้นหลังจากวิกฤตครั้งนี้ คือ
1. Reflect: ผู้นำขององค์กรควรพิจารณาว่าอะไรคือสิ่งที่ทำได้ดี อะไรคือสิ่งที่จะต้องมีการพัฒนา หรือเป็นข้อผิดพลาดในการรับมือกับวิกฤตที่เกิดขึ้น ซึ่งยังรวมถึงการฟังมุมมองจากพนักงานทุกๆ ระดับว่าอะไรคือสิ่งที่องค์กรควรจะดำเนินการต่อไปเพื่อช่วยให้องค์กรสามารถกู้วิกฤตให้เป็นโอกาสในการดำเนินธุรกิจต่อไป
2. Recommit: การสนับสนุนความร่วมมือในองค์กรเพื่อเสริมสร้างความอยู่ดีมีสุข (well-being) ของพนักงาน รวมถึงปัจจัยทางด้านกายภาพ เช่น ปัจจัยด้านการเงิน ความกังวลเกี่ยวกับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน ความปลอดภัยในที่ทำงาน ที่พนักงานต้องการการสนับสนุนจากองค์กร อาทิ การสร้างความมั่นใจว่าที่ทำงานมีความปลอดภัย ความยืดหยุ่นในการทำงาน ความสามารถในการดูแลคนในครอบครัว ซึ่งองค์กรจะต้องมีการสื่อสารสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไปยังพนักงานโดยตรงว่าองค์กรให้ความสำคัญกับอะไร มีเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจอย่างไร และสื่อสารให้พนักงานได้ทราบว่าการทำงานของพนักงานมีความสำคัญต่อเป้าหมายและความสำเร็จขององค์กร
3. Re-engage: การทำงานเป็นทีมมีบทบาทสำคัญมากขึ้นต่อการฟื้นฟูองค์กร ผู้นำจึงควรเตรียมความพร้อมของคนในองค์กรด้วยการกำหนดทิศทางที่ชัดเจนในการมอบหมายงานและสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการใหม่ ซึ่งความท้าทายที่จะเกิดขึ้นคือการสร้างความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน การมอบหมายงานที่ควรมีความยืดหยุ่นในขณะที่ยังคงสามารถสนับสนุนความต้องการทางธุรกิจด้วย
4. Rethink work, workforces, and workplaces: ในช่วงวิกฤต COVID-19 นี้เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในการทำงานแบบ Virtual และ Work form home ที่จะกลายมาเป็นระบบนิเวศใหม่ในการทำงานแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เป้าหมายสำคัญของการกู้คืนองค์กรควรจะมุ่งไปที่ความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น ลดการทำงานประจำและโครงสร้างที่ตายตัวมากเกินไป
ในขณะเดียวกับองค์กรจะเปลี่ยนมุมมองต่อการทำงาน คือ การสื่อสารว่าสิ่งที่พนักงานทำนั้นเชื่อมโยงกับธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร รวมถึงการทบทวนนโยบายการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทั้งในเรื่องของจำนวนคน การให้ผลตอบแทน ค่าชยเชย และการบริหารผลการปฏิบัติงาน ที่ผู้นำจะต้องมีการจัดสรรทรัพยากรและอธิบายแผนการจ่ายผลตอบแทน การเลื่อนตำแหน่งระยะสั้น ควบคู่ไปกับการจัดการความคาดหวังของพนักงานด้วยกระบวนการเยียวยาพนักงานและการดำเนินการไปสู่ความยั่งยืน
5. Reboot — HR Priorities: นอกจากการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ขององค์กรและการทำงานของคนในองค์กรแล้ว สิ่งสำคัญที่จะต้องมีการดำเนินการคือ การทำงานของ HR ที่จะต้องมีความเชี่ยวชาญในการบริหารค่าตอบแทน การบริหารผลการปฏิบัติงาน และการเลื่อนตำแหน่งที่เหมาะสมกับช่วงเวลาในการฟื้นฟูองค์กร ซึ่ผู้นำของฝ่าย HR จะต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ และสามารถเข้าถึงข้อกำหนดด้านแรงงานที่มีความซับซ้อนทางกฎหมายและการเปลี่ยนแปลงทางด้านภาษีทั่วโลก เช่นเดียวกับโครงการของรัฐบาล และการสนับสนุนต่าง ๆ โดยที่การทำงานในอนาคตของฝ่าย HR จะต้องเป็นผู้ที่กล้าตัดสินใจเมื่อองค์กรต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน เพราะสิ่งที่ HR ได้ตัดสินใจนั้นจะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงและบทบาทในอนาคต
การฟื้นฟูองค์กรหลังจากวิกฤตใหญ่ในครั้งนี้ องค์กรจะต้องเผชิญกับความท้าทายด้านแรงงานที่ต้องรับมืออย่างเร่งด่วน และความไม่แน่นอนที่ผู้นำองค์กรจำเป็นจะต้องจัดลำดับความสำคัญของกลยุทธ์ ที่จะสามารถนำมาใช้ให้เหมาะสมกับบริบทขององค์กร มุ่งสู่เป้าหมาย ศักยภาพขององค์กรในอนาคต
Contributor & Infographic: วราภร แซ่ปึง (Content Development and CoP Facilitator, PMAT)
Source: www.forbes.com