ผ่านพ้นวิถีชีวิตใหม่ด้วย Agile People
สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน สำหรับงาน Thailand HR Forum 2020 ซึ่งครั้งนี้ทาง PMAT ได้จัดเป็น Virtual Conference เหมาะกับสถานการณ์แบบวิถีใหม่ในยุคปัจจุบัน ในระหว่างวันที่ 18 – 20 สิงหาคม 2020 นี้ แน่นอนครับว่าในครั้งนี้ผมไล่ดูรายชื่อวิทยากรระดับ Keynote speaker แล้วต้องบอกว่า “ทึ่ง” มาก ๆ ขณะที่พิมพ์นี่ยังขนลุกอยู่เลยว่ารอบนี้ PMAT ไม่ธรรมดาจริง ๆ ครับ พูดไปแล้วก็จะหาว่าอวยแต่อยากให้ท่านผู้อ่านลองรับฟังสิ่งที่ผมจะขอกล่าวถึงว่าเพียงเสี้ยวหนึ่งของสาระและความรู้ในงานครั้งนี้ด้วยประสบการณ์ของผมเองที่เข้า International Conference มาหลายครั้งแล้ว สำหรับงานที่จัดครั้งนี้ไม่แพ้งานระดับนานาชาติที่จัดในนอกบ้านเราเลยครับ
สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งคือการได้คุณ Pia-Maria Thoren ซึ่งเป็นคนที่ได้นิยามคำว่า Agile People เป็นคนแรก ๆ และได้อธิบายได้ตรงกับสิ่งที่ผมคิดว่าสามารถนำไปดัดแปลงใช้ได้ในงาน HR ได้กระชับที่สุดและไม่สับสนกับคำว่า Agile ที่กำลังผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดในบริบทของการบริหารจัดการในยุคปัจจุบันมาก ๆ เลยครับ โดยเธอได้พูดถึง Agile People เอาไว้ดังนี้ครับ
“Agile People คือกลุ่มคนที่มีอยู่เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง
เพื่อให้สามารถมุ่งไปสู่การทำงานที่มีคนเป็นศูนย์กลาง
โดยสร้างโอกาสในการทำงานที่ประกอบไปด้วยความมุ่งมั่นทุ่มเท อิสระ และความฝัน”
อย่างที่หลายท่านทราบกันดีว่า ใจความสำคัญของการ Agile หนึ่งในนั้นคือ ความเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเร็วในการปรับตัว ดั่งที่ Charles Darwin เคยกล่าวไว้ว่า “ในการอยู่รอดได้นั้น ผู้ที่ดำรงอยู่ได้คือผู้ที่สามารถเอาชนะจากการปรับตัวในสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ ได้ดีที่สุด” เช่นกันกับ Agile People กลุ่มคนเหล่านี้คือกลุ่มคนที่จะอยู่รอดต่อไปได้ใน New Normal และ Next Normal ที่กำลังจะเกิด รายงานจาก Mckinsey กล่าวถึงการ Reinventing the organization หรือการเตรียมปรับรูปแบบขององค์กรหลังยุค Covid-19 เอาไว้ว่า “องค์กรจะต้องเร่งความเร็วในระดับที่ว่าห้ามหันหลังกลับไป” และหนึ่งในเรื่องสำคัญที่จะต้องเร่งสร้างคือ “คน”
การปรับองค์กรเพื่อรับมือกับการสร้างความเร็ว ก็เหมือนการสร้างรถยนต์ระดับ Supercar ที่จำเป็นจะต้องมีคนขับรถที่เข้าใจการบังคับรถด้วยเช่นกัน หากองค์กรถูกออกแบบมาเพื่อความเร็ว แต่บุคคลที่อยู่ในองค์กรยังไม่เข้าใจ หรือยังไม่สามารถรับมือกับการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่สูงขึ้นได้นั้น อาจจะทำให้เกิดความยุ่งเหยิงในระดับที่อาจสร้างความเสียหายจำนวนมากให้กับองค์กรได้ และในขณะเดียวกันองค์กรของเราก็ไม่ได้เป็นองค์กรเดียวที่จะปล่อย Supercar ออกมา องค์กรอื่น ๆ ทั้งหมดล้วนตั้งเป้าที่จะแข่งขันกันด้วยความเร็วทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น Business Model หรือการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อมอบสู่ผู้บริโภค ดังนั้นจุดสำคัญที่จะทำให้องค์กรนอกจากจะอยู่รอดได้แล้ว ยังจะต้องอยู่ต่ออย่างยั่งยืนด้วย เพราะอย่าลืมว่า แม้เราจะผลิต Supercar ออกมาหลายคัน แต่ในที่สุดแล้วสักวันหนึ่งการเคลื่อนที่ของรถยนต์ก็จะถึงขีดจำกัดของมัน และจะต้องมีใครสักคนคิดค้นหรือพัฒนายานพาหนะถัดไปที่เร็วกว่าขึ้นมา และแน่นอนว่าบุคลากรเหล่านั้นนี่เอง คือ Agile People ที่เราจะกล่าวถึง
1.) Agile People คือผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงขององค์กร
การทำ Organizational Transformation กลายเป็นสิ่งที่หลายคนพูดถึงในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เพราะลำพังแค่กระแสของ Digital Disruption อย่างเดียวก็กระทบต่อผลการดำเนินงานของหลาย ๆ ธุรกิจอยู่แล้ว ยิ่งมีการเข้ามาของโรคระบาดครั้งใหญ่ในปีนี้ยิ่งทำให้อัตราการเร่งในการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม ผู้นำองค์กรหลาย ๆ คนมักตกหลุมพรางของความเร็วอยู่เสมอ เพราะทุกคนคิดว่าการเร่งความเร็วขององค์กรคือการใช้เครื่องมือให้ถูก และหนึ่งในนั้นคือการหยิบเอา Agile เข้ามาเป็นเครื่องมือหลักในการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอย่างที่เราเห็นตัวอย่างของความล้มเหลวของการเอาเครื่องมือเป็นตัวตั้งต้นในการสร้าง Transformation นั้นมีให้เห็นอยู่เต็มไปหมด บางองค์กรถึงไม่สามารถปรับตัวได้ทัน เพราะคิดว่าเมื่อนำ Agile ไปใช้แล้วจะเกิดความเร็วเพิ่มขึ้นในทันตาเห็นนั่นเอง แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่หลายคนมักมองข้ามไปคือ การสร้างคนขึ้นมาก่อนนำเครื่องมือมาใช้ เหมือนยุคแรกที่มนุษย์รู้จักกับไฟ มนุษย์ยังต้องทำความเข้าใจทั้งข้อดีและข้อเสียของไฟก่อนที่จะนำมาใช้ปรุงอาหาร หรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น
การสร้างมนุษย์ที่มีความเร็วที่สูงขึ้นก็ไม่ได้เกิดจากการนำอุปกรณ์หรือเครื่องมือใด ๆ มาติดตั้ง เพราะมนุษย์ไม่ใช่หุ่นยนต์หรือปัญญาประดิษฐ์ การจะเปลี่ยนให้เกิด Agile People ได้นั้น จำเป็นจะต้องใช้ทั้งการตั้งเป้าหมายขององค์กรร่วมกันกับการสร้าง Way of Work หรือวัฒนธรรมใหม่ในการทำงาน การปรับปรุงกระบวนการทำงาน การสร้าง Infrastructure ที่เหมาะสม รวมไปถึงการปรับ Mindset ของผู้คนที่จะต้องทำงานด้วยกัน ทั้งการทำลายระบบ Silo หรือการสร้าง Cross-functional Team ที่ได้ผลจริง ๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนต้องการแรงงานที่จะเข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น ซึ่งผมเชื่อเหลือเกินว่าจากประสบการณ์ของคุณ Pia-Maria จะสามารถทำให้เราเปิดโลกของ Agile People ได้มากขึ้น
2.) Agile People ไม่ได้ทำงานเป็นเส้นตรง
คุณ Pia-Maria ได้วาดรูปนี้ให้พวกเราเห็นในหนังสือ Agile People: A Radical Approach for HR & Manager ซึ่งผมขอชื่นชมว่าเป็นรูปที่เข้าใจง่ายและมีแรงกระแทกเข้ามาให้เรารู้สึกว่า เออจริงของเค้าแฮะ ที่สุด
จากรูป เราจะเห็นได้ว่าปกติแล้วการวางแผนงาน หรือกระทั่งการวางแผนกลยุทธ์นั้นล้วนแล้วแต่เป็นการ “มโน” ทั้งสิ้น หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ เราล้วนแต่ตั้งสมมติฐานจากข้อมูลที่เราคาดคะเนว่าน่าจะเกิดขึ้น โดยการรวมเอาชุดข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเราเข้ามาผูกรวมกันแล้ววิเคราะห์ด้วยเครื่องมือทางธุรกิจต่าง ๆ แต่ในโลกของความเป็นจริงนั้น ทุกอย่างล้วนมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ใช่ครับ เช่นการเกิดขึ้นของ Covid-19 นี่เป็นต้น ใครจะไปคาดเดาได้ครับ และคงไม่มีนักกลยุทธ์คนไหนคาดเดาได้ว่ามันจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ แต่หลักการทำงานของ Agile People นั้น ไม่ได้ตั้งต้นที่เราจะต้องคาดเดาให้ถูกตั้งแต่แรกนะครับ แต่จะเป็นการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่างหาก ทำอย่างไรถึงจะเปลี่ยนเส้นทางได้ทันเมื่อเจอโค้งหักศอก หรือจะออกแบบเส้นทางใหม่อย่างไรถ้าข้างหน้าเจอทางตัน เป็นต้น
การที่ Agile People เข้าใจถึงสภาพของเส้นทางที่สับสนวุ่นวายหรือที่เรามักเรียกว่า VUCA ในโลกยุคปัจจุบัน จะทำให้องค์กรรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น จากรายงานที่ทำร่วมกันระหว่าง McKinsey และ Harvard ได้พบว่า องค์กรที่มีการประยุกต์ใช้ Agile ก่อน Covid-19 นั้นเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว และมีผลประกอบการที่ดีกว่าองค์กรที่เพิ่งเริ่มใช้หลัง Covid-19
และสิ่งหนึ่งที่จะทำให้เกิดองค์กรแห่งการเปลี่ยนแปลงได้ คือการปรับโครงสร้างขององค์กร ซึ่งเราจะได้เรียนรู้มากขึ้นในระหว่างวันที่ 18-20 สิงหาคม 2563 ที่จะถึงนี้ ไม่ว่าจะเป็นการนำ People Platform มาใช้งาน หรือการมุ่งสู่การทำงานในรูปแบบที่ Flat มากขึ้น หรือแม้กระทั่งผู้นำ หรือ leader นั้น จะเป็น Agile Leader ได้อย่างไร และที่สำคัญที่สุด ตัวคุณเองในฐานะ HR นั้น จะ Agile หรือจะเร็วขึ้นได้อย่างไร (และจำทำได้ทันหรือไม่?) คำตอบของคำถามเหล่านี้ ผู้ที่จะตอบได้ดีที่สุด ย่อมเป็นบุคลากรที่มีประสบการณ์ และผ่านการเปลี่ยนแปลงระดับใหญ่ ๆ มาแล้ว ซึ่งจะสามารถยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม และมีกรอบความคิดที่จะนำพาให้เรากลับไปสร้างองค์กรที่รับมือกับเส้นโค้งหรือเส้นทางที่ไม่ราบเรียบของโลกในยุคอนาคตต่อไปได้ แล้วเจอกันนะครับ
รายละเอียดเพิ่มเติม
https://bit.ly/2NUbK6K
ลงทะเบียนได้ที่
www.hrforum2020.com
#ThailandHRForum2020
Infographic by: วราภร แซ่ปึง Content Development and CoP Facilitator, PMAT
Source:
https://www.mckinsey.com/business-functions/organization/our-insights/ready-set-go-reinventing-the-organization-for-speed-in-the-post-covid-19-era
https://www.mckinsey.com/business-functions/organization/our-insights/an-operating-model-for-the-next-normal-lessons-from-agile-organizations-in-the-crisis