https://www.facebook.com/pmatHRsociety https://twitter.com/pmathrsociety https://www.youtube.com/user/PMATVideos http://line.me/ti/p/@pmat
SAVES สร้าง Resilience
กลับš

 
SAVES สร้าง Resilience


Resilience หรือ ความยืดหยุ่นเป็นกระบวนการปรับตัวที่ดี เมื่อเผชิญกับความทุกข์ยาก ความเจ็บปวด จากเรื่องร้ายๆ หรือภัยคุกคามต่างๆ อันเป็นสาเหตุของความความเครียด เช่น ปัญหาครอบครัวและความสัมพันธ์ ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง ปัญหาในที่ทำงาน ความเครียดทางการเงิน ซึ่งหมายถึงความสามารถในการฟื้นคืนกลับมา (bouncing back)จากสถานการณ์ที่ยากลำบาก ผลที่ตามมาคือ คนที่มี Resilience จะสามารถดำเนินชีวิต หรือสร้างผลลัพธ์ที่ดีได้แม้ปัจจัยภายนอกจะไม่เอื้ออำนวย มีความสามารถในการทำงานภายใต้ความเครียด การฟื้นตัวจากการบาดเจ็บ การใช้ความท้าทายเพื่อสร้างการเติบโตในอนาคต สามารถจัดการกับความยากลำบากได้มากขึ้น เป็นต้น

Gregory T. Eells ผู้อำนวยการฝ่ายให้คำปรึกษาและบริการทางจิตวิทยา Gannett Health Services จาก Cornell University ได้ให้นิยามและองค์ประกอบของการสร้าง Resilience คือ “SAVES” ประกอบด้วย

"Social Connection"
การเชื่อมต่อทางสังคมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง ที่ช่วยป้องกันการเกิดปัญหาทางด้านจิตใจ การศึกษาทางด้านชีววิทยาพบว่า การเชื่อมต่อทางสังคมนำไปสู่การปลดปล่อยออกซิโทซิน (oxytocin) ที่ลดการตอบสนองต่อความเครียดโดยการยับยั้งอมิกดาลา ซึ่งออกซิโทซินเป็น“โมเลกุลทางศีลธรรม” มาจากการได้รับการสนับสนุนทางสังคม หนึ่งในวิธีธรรมชาติที่สุดในกระตุ้นออกซิโทซินคือ การให้และรับการกอดจากผู้คน นอกจากนี้การวิจัยด้านจริยธรรม - สุขภาพจิต และความยืดหยุ่นที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือซึ่งกันและกับ พบว่าเมื่อเราช่วยผู้อื่นสมองของเราจะได้รับโดพามีน ที่ทำให้เรารู้สึกดีเช่นเดียวกับการได้รับรางวัล ซึ่งในโลกแห่งการทำงานที่ล้อมรอบด้วยผู้คนที่คอยให้การสนับสนุน จะช่วยให้สามารถเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ไปได้ ไม่ว่าจะเป็น การให้คำปรึกษา การรับฟัง เป็นต้น

"Attitude"
คือการมีทัศนคติในการเรียนรู้ที่จะมองโลกในแง่ดี มีกรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) มองสิ่งรอบตัวเป็นเรื่องที่ท้าทาย เห็นโอกาสในการเรียนรู้ กล้าที่จะเผชิญกับความล้มเหลว

"Values"
มองเห็นคุณค่าของสิ่งต่างๆ มีเป้าหมายในการใช้ชีวิต และนำทางชีวิตด้วยความดีงาม

"Emotional Acceptance"
ความสามารถในการยอมรับและจัดการกับอารมณ์ที่ได้รับผลกระทบจากสิ่งเร้าภายนอก ซึ่งมิใช่การพยายามเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ให้เป็นไปตามที่ใจหวัง แต่คือการรู้จักการยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าผลนั้นจะเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่

"Silliness"
การมีอารมณ์ขันจะช่วยให้เราสามารถบรรเทาความทุกข์ เพิ่มความสุข และเสริมสร้างความสามารถในการตอบสนองต่อเรื่องราวร้ายๆ ได้อย่างดี บางครั้งในการทำงานหรือการใช้ชีวิตที่มีเรื่องราวส่งผลให้เกิดความเครียด ความมีอารมณ์ขันนี้ จะช่วยสร้างความสมดุลให้กับคืนมา

ทั้งห้าองค์ประกอบนี้เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสร้างความยืดหยุ่น (Resilience) ในการทำงานและการใช้ชีวิต ยังมีแนวทางที่เป็นกุญแจสำคัญสู่ความสมดุลทางกาย ใจ และอารมรณ์ได้หลายวิธีคือ การตระหนักรู้ความคิดและความรู้สึก การสร้างและรักษาความสัมพันธ์อันดี การมองโลกในแง่ดี การเรียนรู้จากประสบการณ์ การดูแลตัวเอง การพาตัวเองออกจา Comfort zone การพบเจอผู้คนที่หลากหลาย การแสดงความขอบคุณกับสิ่งต่างๆ ในทุกวัน

หากคุณอยากจะเรียนรู้แนวทางการสร้าง Resilience ในการใช้ชีวิตและการทำงาน
ขอเชิญมาร่วมเรียนรู้ไปกับเราที่งานTHAILAND HR DAY 2020 - HYBRID CONFERENCE
“Building Organizational Resilience: HR & the Future Strategy on Transformation”
วันที่ 2-3 ธันวาคม 2563
@ Centara Grand at Central Plaza Ladprao Bangkok
ข้อมูลเพิ่มเติมและลงทะเบียนได้ที่ www.hrday2020.net

#HRDay2020