อาชีพใด ที่กำลังจะกลายเป็นฝันร้ายในยุคหลัง Covid-19
ช่วงที่ผ่านมาเราคงเคยพบเห็นบทความ podcast หรือ media ต่าง ๆ ที่พูดถึงการเข้ามาของระบบอัตโนมัติ หรือ ปัญญาประดิษฐ์ที่โดยส่วนมากแรงงานมักจะหวาดกลัวการเข้ามาแทนที่ตนเอง อย่างในส่วนงานของภาคอุตสาหกรรม (แน่นอนว่าหุ่นยนต์นั้นทำงานได้ยี่สิบสี่ชั่วโมงโดยไม่มีวันหยุด แถมความผิดพลาดจากอารมณ์ก็ไม่มี) หรือส่วนงานที่จำเป็นต้องใช้ความเสี่ยงในสภาพแวดล้อมที่อันตราย อย่างในเหมือง หรือใต้ทะเลลึก เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การระบาดในวงกว้างของ Covid-19 นั้นภาคอุตสาหกรรมการผลิตไม่ใช่ขอบเขตเดียวที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ดังกล่าว ภาคการให้บริการก็ได้รับผลกระทบทางตรงไปด้วย จากการวิเคราะห์ของ Federal Reserve Bank of Philadelphia พบว่าความน่ากลัวอีกประการหนึ่งของ Covid-19 นั้นคือการเป็นตัวกระตุ้นให้หลาย ๆ องค์กรพัฒนาสิ่งทดแทนการใช้แรงงานมนุษย์อย่างก้าวกระโดดเพื่อคงไว้ซึ่งการดำเนินธุรกิจในภาวะวิกฤตนั่นเอง
งานบางงานที่หลาย ๆ สำนักเคยคาดเดาว่าจะถูกแทนที่ด้วย automation ภายใน 10 ปี หรือที่ PMAT เคยวิเคราะห์ไว้ใน PMAT - สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย/ความรู้ทรัพยากรบุคคล/HR Infographic/ โฉมหน้างานใหม่ของ HR ในอีก 5 ปีข้างหน้า นั้นอาจจะถูกเร่งจากภาวะดังกล่าวให้สามารถเกิดขึ้นได้ภายในเวลาไม่กี่เดือนแทน โดยอาชีพที่ได้รับการคาดการณ์ว่ากำลังจะถูกผลกระทบของ automation มากกว่า 70% (ความเสี่ยงที่เกิดจากองค์กร หรือบริษัทจะเริ่มทดลองใช้ระบบ automation หรือระบบอัตโนมัติต่าง ๆ เช่น หุ่นยนต์ หรือคอมพิวเตอร์ มาทดแทนแรงงานมนุษย์) ประกอบไปด้วย
1.) อาชีพที่เกี่ยวกับการขับรถขนส่ง (Transportation)
ปัจจุบันรถยนต์ที่เคลื่อนที่โดยอัตโนมัตินั้นเริ่มมีความปลอดภัยมากขึ้น เช่น Tesla ที่มีการสอนให้ระบบการขับรถนั้นปลอดภัยมากขึ้น โดยการนำข้อมูลอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ในรูปแบบคล้าย ๆ กันมาให้ปัญญาประดิษฐ์เรียนรู้ แล้วทดลองซ้ำไปซ้ำมา หรือกระทั่งระบบการขนส่งพัสดุชิ้นเล็ก ๆ ด้วย drone นั้นก็เริ่มมีปรากฏให้เห็นมากยิ่งขึ้น ดังนั้นในอนาคตความเสี่ยงที่ระบบจะเข้ามาทดแทนมนุษย์ที่ทำงานในหน้าที่เหล่านี้จึงเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง อีกทั้งการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของการขายของออนไลน์ยิ่งทำให้แรงงานในอุตสหกรรมนี้เป็นที่ต้องการมากขึ้น บริษัทขนส่งมีตัวเลขการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในยุค Covid-19 การที่สามารถวางแผนกำลังพลโดยใช้ระบบเข้ามาทดแทนจึงกำลังเข้าสู่รอบของการพิจารณาเพื่อใช้งานจริงต่อไป
2.) อาชีพที่เกี่ยวข้องกับร้านอาหาร โดยเฉพาะพนักงานเสิร์ฟ
ร้านอาหารคือสถานที่ที่ถูกผลกระทบเรื่องโรคระบาดโดยตรง การที่ผู้ประกอบการบางแห่งจำเป็นจะต้องให้ธุรกิจดำเนินต่อไปอาจจะต้องรับมือกับการใช้ระบบอัตโนมัติเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น เช่น การให้ยิง QR code แทนการสั่งอาหาร หรือการให้หุ่นยนต์ออกมาให้บริการส่งมอบอาหารที่โต๊ะโดยตรงจากพ่อครัว ซึ่งสามารถการันตีความปลอดภัยจากเชื้อโรคได้มากขึ้น
3.) อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการขาย เช่น Sales
เราคงเคยได้ยินคำศัพท์ว่า Salesforce Automation หรืออาจแปลง่าย ๆ ว่าการขายแบบอัตโนมัติในช่วงที่ผ่านมามากยิ่งขึ้น เนื่องจากสมัยก่อนธุรกิจจำเป็นต้องวิ่งเข้าหาลูกค้า และด้วยความซับซ้อนของสินค้าบางอย่าง เช่น วัสดุก่อสร้าง หรือชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ เป็นต้น บริษัท startup อย่าง Rudy ซึ่งเป็นของคนไทยก็สามารถสร้างยอดขายให้ร้านค้าวัสดุก่อสร้างโดยใช้หลักการ automation เข้ามาช่วย แก้ปัญหาต้องปวดหัวกับการวิ่งขายของตามไซต์งานก่อสร้างได้ เป็นต้น
4.) อาชีพที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโรงแรม เช่น พนักงานต้อนรับ
บางโรงแรมในสหรัฐอเมริกาแถมซานฟรานซิสโก เบย์แอเรีย ก็เริ่มมีการทดลองใช้พนักงานต้อนรับหุ่นยนต์เพื่อรับแขกที่เข้าพักในโรงแรมแล้วเช่นกัน ด้วยเหตุผลเช่น “หุ่นยนต์ไม่จาม” เป็นต้น
อย่างไรก็ตามจากตัวอย่างที่ยกขึ้นมานั้น แม้จะจั่วหัวว่าอาจจะเป็นฝันร้ายของคนในอุตสาหกรรมดังกล่าวก็ตาม แต่การที่เราสามารถประเมินความเสี่ยงได้ก่อนนั้นถือเป็นเรื่องที่ดีไม่ใช่เรื่องที่ต้องกลัวแต่อย่างใด เนื่องจากมนุษย์คือสิ่งมีชิวิตที่มีความสามารถในการปรับตัวอย่างเป็นอนันต์ ดังนั้นหากเรารู้ว่าหนทางข้างหน้าจะเป็นเช่นใด ยิ่งจะทำให้เราปรับตัวได้ง่ายขึ้น ในฐานะ HR เอง การที่เราอยู่ในผลกระทบจากเรื่องดังกล่าว ยิ่งเป็นสิ่งเร่งที่จะทำให้เราวางแผนการ upskill หรือ re-skill ได้เหมาะสมยิ่งขึ้นนั่นเอง
ก่อนที่จะจบบทความลง จากการวิเคราะห์นั้นยังบอกเราอีกว่า อาชีพที่ความเสี่ยงต่ำ จากการถูกแทนที่ด้วยระบบอัตโนมัตินั้นประกอบไปด้วย อาชีพที่มีความเฉพาะเจาะจงค่อนข้างมากเช่น project manager หรือ software developer เป็นต้น ดังนั้นถ้าเราพิจารณาจากจุดที่เรายืนอยู่ ณ ตอนนี้ การที่ต้องสร้างเสริมทักษะในการบริหาร หรือทักษะในการเป็นผู้นำนั้น ยังมีความเสี่ยงที่ต่ำมากในการถูกแทนที่นั่นเอง หากวันนี้เราจะต้องเตรียมพัฒนาทรัพยากรบุคคล จึงควรแนบเรื่องของธุรกิจ การบริหารจัดการ และ leadership เข้าไปด้วยเช่นกัน
หากท่านผู้อ่านชื่นชอบบทความที่ทาง PMAT ได้นำเสนอ ทาง PMAT ขอเชิญชวนท่านผู้อ่าน และผู้ที่สนใจเข้าร่วมงาน PMAT Thailand HR Day 2020 ระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม 2020 นี้ โดยหัวข้อที่น่าสนใจนอกเหนือจากเรื่องปัญหาและความท้าทายในอนาคตที่จะเกิดขึ้นในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลแล้วนั้น ยังมีประสบการณ์และการแลกเปลี่ยนความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ที่ไม่ได้จำกัดเพียง HR เท่านั้น
สามารถเข้าร่วมชมงานสัมมนาออนไลน์ แบบ live Streaming
ไม่เพียงเท่านั้น ท่านยังสามารถรับชมย้อนหลังได้ 15 วัน
(วันที่ 8 - 22 ธ.ค. 2563) หมดกังวลเรื่องเวลาและการเดินทาง
อัดแน่นไปด้วยเนื้อหาสาระทั้งหมด 28 หัวข้อ โดยวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญกว่า 30 คน
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.hrday2020.net
อ้างอิง
https://www.philadelphiafed.org/
https://www.merudy.com