HR กำลังจะถูกทำให้ทันสมัยขึ้นจริงหรือไม่?
ในขณะที่ทุกองค์กรกำลังยุ่งหัวหมุนอยู่กับการจัดการทำให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่นภายใต้ความผันผวนของสถานการณ์ในโลก ทั้งการรับมือการโรคระบาด การรับมือการ new normal การต้องปรับสำนักงานให้เหมาะสมกับสภาวะการณ์ในปัจจุบัน ฉับพลันนั้นก็มีความคิดหนึ่งผุดขึ้นมาลึก ๆ ในใจของผู้นำองค์กรเหล่านั้น นั่นคือ “ระบบบริหารงานบุคคลในปัจจุบันนั้นเหมาะสมกับ หรือทันสมัยหรือไม่?”
คำถามดังกล่าวถือว่าเป็นคำถามที่มีแรงกระแทกสูงมาก เนื่องจากในประวัติศาสตร์ในการบริหารการจัดการทุกตำรา เรายังคงยึดหลักการบริหารทรัพยากรบุคคลสืบทอดต่อกันมาภายใต้หลักการ Scientific Management ของ Frederick Taylor ที่ต้องการให้แรงงานสร้างประสิทธิภาพสูงสุดในการส่งมอบสินค้าหรือบริการจากบริษัท แม้ในช่วงที่ผ่านมาเราจะเจอคำศัพท์ทางการบริหารงานบุคคลสมัยใหม่อย่าง Agile หรือ Holaracy ของ Netflix เป็นต้น แต่แน่นอนว่าด้วยสภาพของธุรกิจที่ต่างกัน หลาย ๆ บริษัทจึงไม่สามารถก๊อปปี้ หรือคัดลอกมาสำเนาที่ DNA ของพนักงานในองค์กรของตัวเองได้ชั่วข้ามคืน
หากแต่สิ่งที่เราพูดถึงในวันนี้นั้นไม่ใช่ “รูปแบบในการบริหารจัดการ” แต่เป็น “การยกระดับการทำงานของ HR” ต่างหาก
HR on Cloud
ในปัจจุบันนั้นการทำงานจากที่บ้านถือเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปแล้ว แม้กระทั่งในประเทศไทย อัตราการ Work From Home และ Hybrid Workplace ยังมีสัดส่วนที่สูงขึ้นแม้ว่าประเทศเราจะไม่มีผู้ติดเชื้อแบบติดกันเองภายในประเทศยาวนานต่อเนื่องก็ตาม กระบวนการบางอย่างของ HR ได้รับการยกระดับขึ้นไปเป็นระบบ Digital มากขึ้น ปกติการลาพักร้อน Online หรือทำบนมือถือนั้นถือเป็นเรื่องปกติไปแล้วในบางบริษัท หรือกระทั่งการดูผลการประเมินการปฏิบัติงาน การขึ้นค่าจ้าง การ coaching หรือการทำ engagement survey ก็สามารถทำได้ on cloud ทั้งหมด การยกระดับการทำงานของ HR นั้นจึงไม่ได้เป็นแค่ HR หนึ่งคนจะพัฒนาตัวเองด้วยการเรียนรู้จากตำราเพียงอย่างเดียว แต่คือการปรับรูปแบบการให้บริการต่อพนักงานด้วยเครื่องมือที่ “ทันสมัย” และตอบสนองความเร็วของความต้องการของพนักด้วยเช่นกัน
เรื่องสำคัญอีกประการหนึ่งของงาน HR คือ เราต้องทำงานแบบ hi-tech ควบคู่กับ hi-touch เพราะหลาย ๆ คนยังต้องอยู่ในธุรกิจที่ไม่สามารถ 100% ทำงานจากที่บ้านได้ บางตำแหน่งงานยังคงต้องรักษาการเข้าสำนักงานเพื่อทำงานอยู่ การจัดแบ่ง หรือแยกร่าง HR ให้เหมาะสมจึงเป็นเรื่องที่พึงกระทำให้ new normal แบบนี้ แม้ว่าระบบต่าง ๆ ของพนักงานจะถูกโยกย้าย หรือแปลงรูปแบบของงานเอกสารให้น้อยลงก็ตาม อย่างไรก็ดี สิ่งที่ปัญญาประดิษฐ์ หรือหุ่นยนต์จะไม่มีสามารถเข้ามาทดแทน HR ได้คือ กระบวนการเดินคุยกับพนักงานอย่างเป็นกันเองนั่นเอง ความใกล้ชิดเหล่านี้ ไม่สามารถหาได้จากบน Cloud
HR Hybrid
การยกระดับ HR ให้ทันสมัยอีกประการหนึ่งคือการที่ HR เป็นระบบ Omni-Channel หรือระบบที่สามารถทำงานได้ทั้ง online/offline เนื่องจากประชากรคนทำงานของเรากำลังจะถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบไปอย่างไม่มีวันกลับมาเหมือนเดิม บางบริษัทอาจจะเลือกที่จะเป็น 100% remote work ในขณะที่อีกหลายบริษัทกำลังเตรียมปรับสถานที่ทำงานให้เหมาะสมกับรูปแบบ hybrid มากขึ้น (จากการสำรวจของ Deutsche Bank พบว่าพนักงาน 70% แจ้งว่าพวกเขามีศักยภาพที่สูงขึ้นหากทำงานจากที่บ้าน) ทำให้บริษัทอาจจะลดปัญหาของสถานที่ทำงานลง หรืออาจถึงขึ้นปรับรูปแบบของการเช่าสำนักงานเพื่อลดภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายลง (และแน่นอนว่า HR จะต้องเข้ามามีบทบาทต่อเนื่องทันทีว่า ในเมื่อลดต้นทุนได้แล้ว จะมีอะไรตอบแทนพนักงานหรือไม่? เพราะรูปแบบการจ้างงานจะต้องเปลี่ยนไปเช่นกัน)
การที่ HR ต้องทำตัวเป็น hybrid ให้ได้นั้นก็เพราะว่า หากนึกภาพบุคลากรในองค์กรของท่าน มีโอกาสจะเข้าออฟฟิศแค่สองวันต่อสัปดาห์ หรือแต่ละคนนั้นเข้าไม่พร้อมกัน หลากหลายกิจกรรมจะต้องถูกออกแบบให้แตกต่างกันออกไป เช่น รูปแบบการสร้าง culture / team building / การรับพนักงานเข้างานใหม่ / การปฐมนิเทศน์ / การทำ company outing เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะเป็นการยกระดับงานที่ HR ทำให้ทันสมัยมากขึ้นไปอีก เพราะเรากำลังคิดไปข้างหน้าถึงยุค next normal ที่กำลังจะเกิดขึ้นนั่นเอง
HR as a service
รูปแบบการทำงานในอนาคตมีแนวโน้มจะเกิด workforce on demand สูงขึ้น และสภาพการทำงานอาจจะต้องปรับเปลี่ยนไปเป็น contract-based หรือ project based มากขึ้น การจ้างพนักงานระยะสั้นจะมีมากขึ้น แรงงานที่เป็น gig economy จะเริ่มเติบโต HR จะคงสภาพของตัวเองเป็น center หรือ shared service อย่างเดียวอาจจะไม่เหมาะสม คงต้องเตรียมตัวยกระดับการทำงานให้สูงขึ้นเหมือน super app ที่เวลาหิวข้าว เวลาอยากจองรถ เวลาอยากซื้อของจากซุปเปอร์มาร์เกต ก็สามารถเรียกใช้ได้ตลอด คำว่า HR as a service จึงคล้ายกับการพูดว่า การออกแบบ HR on demand ตามที่องค์กรต้องการในสภาวะใดสภาวะหนึ่งในระยะเวลาสั้น ๆ นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม หลักการที่สำคัญที่สุดของ HR ยังคงหนีไม่พ้นในเรื่องของการบริหารทรัพยากรบุคคล ดังนั้นคนเปลี่ยนตลอดเวลาเป็นการเคลื่อนไหวที่ยากจะทำความเข้าใจได้ล่วงหน้า ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดคือ เราจะต้องจัดลำดับความสำคัญของมนุษย์เอาไว้ตลอดเวลา เช่น ในภาวะวิกฤติ ลำดับความสำคัญคือความปลอดภัย และสบายใจที่จะสามารถดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องได้ แต่พอพ้นภาวะวิกฤติไปแล้ว ก็จะต้องจัดลำดับความสำคัญใหม่ เป็นต้น หาก HR ที่สามารถยืดหยุ่นตัวเองตามสภาวะแบบนี้ได้เมื่อไหร่ ก็จะกลายเป็น HR ที่แข็งแกร่ง และทันสมัยอยู่ตลอดเวลานั่นเอง
สามารถเข้าร่วมชมงานสัมมนาออนไลน์ แบบ live Streaming
ไม่เพียงเท่านั้น ท่านยังสามารถรับชมย้อนหลังได้ 15 วัน
(วันที่ 8 - 22 ธ.ค. 2563) หมดกังวลเรื่องเวลาและการเดินทาง
อัดแน่นไปด้วยเนื้อหาสาระทั้งหมด 28 หัวข้อ โดยวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญกว่า 30 คน
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.hrday2020.net
อ้างอิง
https://qz.com/1936389/workday-earnings-and-software-subscriptions-rise-due-to-covid-19/
Holacracy - Evolve Your Organization
รายงานสถานการณ์โควิด-19 ประจำประเทศไทย (moph.go.th)