https://www.facebook.com/pmatHRsociety https://twitter.com/pmathrsociety https://www.youtube.com/user/PMATVideos http://line.me/ti/p/@pmat
‘Thailand HR Tech 2022’ อัพเลเวลการบริหารคนสู่ยุค digital HR เต็มรูปแบบ
กลับš


‘Thailand HR Tech 2022’
อัพเลเวลการบริหารคนสู่ยุค digital HR เต็มรูปแบบ




PMAT ดีเดย์งาน Thailand HR Tech 2022 รับปลายเดือนตุลาคม ชี้การทำงานในโลกยุคใหม่ เทคโนโลยีกับคนถูกผสานเป็นเนื้อเดียวกัน HR ต้องอัพเกรดตัวเองสู่ digital HR เต็มสปีด เปิดใจ 3 บิ๊ก “Job TopGun-Humanica-Darwinbox” เทคโนโลยีช่วยให้คนและองค์กรเก่งขึ้น มีความสุขขึ้นได้อย่างไร

(19 กันยายน 2565 – เซ็นทาราแกรนด์ แอทเซ็นทรัลเวิล์ด ชั้น 23) สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) เตรียมกดปุ่มงาน Thailand HR Tech 2022 Expo 18-19 ตุลาคม 2565 นี้ ภายใต้ธีม Let’s create human-first technology for humanity ที่รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 สยาม พารากอน เป็นงานแสดงนิทรรศการความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในฝั่งของ HR ที่รวบรวมโซลูชันส์ และเครื่องไม้เครื่องมือในการบริหารจัดการคน เพื่อปิดตายทุก pain point และอัพเลเวลคนทำงาน HR ขยายบทบาทไปสู่การวางกลยุทธ์องค์กรเต็มตัว

ดร.บวรนันท์ ทองกัลยา นายกสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) ย้ำว่า งาน Thailand HR Tech 2022 expo เป็น game changer ของการบริหารคนในทุกองค์กร ช่วงโควิดที่เกิดขึ้น 2 ปีที่ผ่านมา เห็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานของคนทำงานเปลี่ยนไป คาดว่างานนี้น่าจะอยู่ในความสนใจของ HR มากกว่า 15,000 คน

“ช่วงโควิดเรื่องของเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ สองปีเราลองผิดลองถูก ใช้เทคโนโลยีบ้าง แต่ตอนนี้ปฏิเสธไม่ได้แล้ว ในงานมีบูธ HR solution ทุกรูปแบบ การทำงาน HR ต้องเดินหน้าเข้าสู่โหมด digital HR เต็มตัว เรามีนิทรรศการกว่า 100 บูธ ถือเป็นอีกจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ทำให้การบริหารทรัพยากรมนุษย์สามารถให้อำนาจศักยภาพของคนได้เต็มที่ผ่านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเปลี่ยนผ่าน HR ทั้งระบบ เปลี่ยนในเรื่องการบริหารคนอย่างไรให้เก่งขึ้น ดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น และสามารถสร้างคนให้เก่งขึ้นผ่าน HR Tech”

กิจกรรมเด่นๆ ในงาน ได้แก่

  • HR TECH CONFERENCE : เวทีเสวนาเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่องานด้านการจัดการและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุค New World of Work รวมกว่า 70 หัวข้อ
  • HR Tech BOOTHS & Exhibition : นิทรรศการเต็มรูปแบบบนพื้นที่ 7,000 ตร.ม. พร้อมนำเสนอ นวัตกรรมด้าน HR Technology and Solution ให้ผู้เข้าร่วมงานได้สัมผัสและทดลองใช้สุดยอดเทคโนโลยี เพื่อค้นหาเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ทุกมิติของการใช้ชีวิตและการทำงานในโลกยุคดิจิทัล
  • Tech for Wellbeing : เปิดพื้นที่ ฉายภาพมิติใหม่ด้านการดูแลสุขภาพกายและใจของพนักงาน ร่วมแบ่งปันแนวปฏิบัติ แนวคิด และ เทคโนโลยี เพื่อช่วยปรับปรุงให้พนักงานมีความสุขและพร้อมต่อการขับเคลื่อนองค์กร
  • HR TECH PITCHING CONTEST 2022 : เปิดเวทีให้ HR TECH Start up ได้ปล่อยของ ชวนมาเสนอแนวคิดธุรกิจเพื่อพิชิตโอกาสร่วมลงทุนกับ venture capital
ลงทะเบียนเข้าร่วมงานฟรี ได้ที่ www.hrtech.pmat.or.th

ผสานพลังผู้สนับสนุนหลัก เพื่อส่งมอบประสบการณ์ด้าน HR TECH ให้กับคน HR และ คนทำงาน

คุณวิเชียร ชนาเทพาพร ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการบริหาร บริษัท ท็อปกัน จำกัด ผู้บริหารแพลทฟอร์มการรับสมัครคนออนไลน์ Job TopGun เปิดเผยว่า เราอยู่ในยุคของ digital transformation เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามารองรับการทำงานในสังคมยุคใหม่ บริษัทค่อนข้างโดดเด่นในการนำเทคโนโลยีมาใช้งาน เพื่อให้คนและองค์กรมีชีวิตที่ดีขึ้นใน 4 แนวทางคือ
1. หาคนต้องได้คน การหาคนไม่ใช่เพียงแค่ประกาศ แล้วรอให้คนมาสมัคร แต่ไปถึงจุดที่เราเข้าไปถึงฐานข้อมูล เพื่อเฟ้นหาคนที่ดีที่สุด สิ่งที่ทำให้ Job TopGun แตกต่างได้ เพราะความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้มีความรวดเร็วในการหาจากฐานข้อมูลที่ก้อนใหญ่มาก

“เราเป็นบริษัทที่มีฐานข้อมูลผู้สมัครมากที่สุดเป็น 2 เท่า เราเก็บฐานข้อมูลมา 20 ปีจากข้อมูลในมหาวิทยาลัยต่างๆ มี 4 ล้านกว่ารายชื่อผู้สมัคร เรามีตัวกรองมากกว่า 11 ตัวกรอง มากกว่าที่มีในท้องตลาด สามารถระบุได้ชัดเจน เราเจาะทะลุทะลวงได้หมด ทำให้ชีวิตการทำงานของ HR ดีขึ้น”

2. มี academy ที่เป็นเพื่อนคู่คิดคอยแก้ปัญหา HR เป็นคู่คิดในการค้นหาข้อมูล สอนการใช้ซอฟแวร์ การจัดการกระบวนการสรรหา ติดต่อสถาบันการศึกษา 100 กว่าคณะ สร้างระบบการศึกษาให้เป็น just in time learning นักศึกษามีโอกาสเรียนรู้ที่ตรงกับสายงาน จบออกมาแล้วทำงานได้เลย ทำให้ชีวิต HR ดีขึ้น จากการรวบรวมเทคโนโลยีสร้างสรรค์ความรู้ที่ตรงจุด

3. เราถึงยุคที่ต้องใช้ซอฟแวร์มาจัดการระบบการสมัครพนักงานทั้งระบบ ตั้งแต่ตรวจเช็คใบสมัคร ส่งต่อให้ผู้เกี่ยวข้อง ลงตารางนัดสัมภาษณ์ บันทึกผล ว่าจ้าง ทำให้ชีวิตดีขึ้นมาก สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทั้งหมดในระบบก้างปลา ทำให้ HR มีผลงาน สามารถรายงานข้อมูลอัพเดทส่งตรงถึงมือผู้บริหารได้ทุกขั้นตอน

4. ยากมากๆ คือการเชิญคนมาสัมภาษณ์
เพราะต้องไปค้นหาข้อมูลผู้สมัคร ถ้าเป็นบริษัทใหญ่ๆ ไม่มีปัญหา เพราะคนรู้จักอยู่แล้ว การให้คนมาสัมภาษณ์ได้ขึ้นกับ corporate branding หรือ employer branding ถ้าเราสามารถทำให้ถูกคนถูกเวลาถูกที่ ส่งไปหาผู้สมัครที่เราสนใจ Job TopGun พัฒนาระบบ you say, HR say เป็นการรีวิวบริษัท ว่าบริษัทไหนมีมาตรฐานที่ดี ในเรื่องของชีวิตดี งานดี เงินดี สังคมดี มีรีวิว 20,000 รีวิว ยกย่องเชิดชูบริษัทที่มีมาตรฐานเหนือกว่าตลาด เวลา HR โทรไปนัดสัมภาษณ์ ผู้สมัครตอบรับคำเชิญง่ายขึ้น

คุณสุนทร เด่นธรรม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฮิวแมนิก้า จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า คนมีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร พูดกันมา 10 ปีแล้ว จากความสนใจขององค์กรตั้งแต่เรื่องการผลิต ความสำคัญของลูกค้า จนมาถึงเรื่องเทคโนโลยี ไม่ว่าเป็นอะไรก็แล้วแต่ที่ธุรกิจให้ความสำคัญมากที่สุด สุดท้ายจบอยู่ที่คน ถ้าไม่มีคนที่ใช่ คนที่ดี คนที่เก่ง เหมาะกับองค์กร สิ่งต่างๆ ที่องค์กรให้ความสำคัญ ก็จะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้

“กระบวนการดูแลพนักงาน มาจาก mindset ขององค์กรที่ให้ความสำคัญกับคนในอดีต ที่แตกต่างกัน ก็จะมีการลงทุนในเรื่องการบริหารคนที่น้อยกว่าด้านอื่น เช่น การผลิต เครื่องจักร การขาย การตลาด แต่ตอนนี้ HR เป็นคู่คิดที่สำคัญที่สุด ในองค์กร ทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายได้ ปัจจุบันฝ่ายบุคคลที่เป็น professional human capital หรือ chief people officer เป็นตำแหน่งที่มีเงินเดือนสูงมาก เพราะฮิวแมนิก้ารู้เงินเดือนของลูกค้าทุกราย กล้าพูดว่า HR เก่งๆ ค่าตอบแทนสูงกว่า CPO เป็นเรื่องที่น้อยคนจะรู้”

ทุกวันนี้ HR เป็นคู่คิดของ CEO จากประสบการณ์ของตัวเอง ที่เห็นลูกค้าประสบความสำเร็จจากการให้ความสำคัญกับคน เช่น ธุรกิจไมเนอร์กรุ๊ป ที่ผู้บริหารให้ความสำคัญกับคน ตั้งแต่ธุรกิจยังเป็นห้องแถว แต่ผู้นำให้ความสำคัญกับคนเท่าๆ กับด้านโอเปอร์เรชั่นและการเงิน สามารถยกระดับจากธุรกิจห้องแถวมาเป็นธุรกิจแสนล้านได้ เพราะผู้นำให้ความสำคัญกับคนมาตลอด ดังนั้น CPO ของไมเนอร์ฯ จึงทรงพลังมาก มีฝีมือหาตัวจับยากในวงการ HR ซึ่งแนวโน้มนี้จะเห็นได้มากขึ้นในยุค digital HR

เขากล่าวว่า HR Tech ช่วยพัฒนาบทบาท HR ให้ติดปีก จากในอดีตที่เป็นแอดมินก็พัฒนามาสู่ออโตเมชั่นมากขึ้น แทนที่จะประมวลผลจากกระดาษ ก็มาใช้เอ็กเซลส์ มาสู่ยุคที่มีกระบวนการทำงาน และมายุค employee self service ที่กลายเป็นเรื่องธรรมดา เหมือนการฝากถอนเงินผ่านตู้ ATM

“องค์กรต้องเปลี่ยนตัวเอง โดยมี HR เป็นหัวใจสำคัญของ digital transformation มันไม่ใช่เรื่องของการลงไอทีแล้ว เพราะ digital transform ไม่ใช่ไอที แต่เป็นกระบวนการทำงานที่ต้องออกแบบมา ปรับปรุง แล้วเอาระบบมาจับ HR Tech มาช่วยให้กระบวนการทำงานของ HR มีประสิทธิภาพ กลายเป็นคู่คิดของผู้บริหารในเชิงกลยุทธ์”

นอกจากนี้ จาก productivity ที่ใช้ซอฟแวร์หรือไอที ทำให้ productivity สูงขึ้น ใช้คนน้อยลง ทำงานได้มากขึ้น จะเปลี่ยนไปเป็นเรื่องของการไปโฟกัสที่ employee centric เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ไม่ใช่ทำอย่างไร HR ถึงจะทำงานได้ดีขึ้น ทำอย่างไร HR ถึงจะทำงานได้มากขึ้น แต่ต้องบอกว่า ทำอย่างไรให้พนักงานสามารถทำงานอย่างมีความสุข ทำอย่างไรถึงจะดึงดูดคนเก่งมาสมัครงาน คัดเลือกอย่างไร บ่มเพาะ หรือเรื่องของการสร้างการมีส่วนร่วม และวัฒนธรรมองค์กร พัฒนาคนทำงาน ที่สำคัญจะเก็บรักษาเขาไว้ได้อย่างไร เพราะองค์กรลงทุนมหาศาลกว่าจะปั้นคนเก่งๆ ได้คนหนึ่ง เสร็จแล้วคู่แข่งก็เอาไปใช้งานสำเร็จรูป อันนี้คือความเสียหายที่ยิ่งใหญ่ขององค์กรที่ไม่สามารถเก็บรักษาคนเก่งไว้ได้

ฮิวแมนิก้ามองว่า โควิดมาสร้างผลกระทบต่อระบบการทำงานและต่อธุรกิจมากมาย และโควิดเป็นตัวเร่งหลายๆ อย่างของ HR transformation ให้เกิดขึ้น เช่น ความยืดหยุ่นของการทำงาน แยกเป็นด้านองค์กร และพนักงาน แง่องค์กร เช่น เวลาทำงาน สถานที่ทำงาน กลยุทธ์ต่างๆ ต้องยืดหยุ่นมากขึ้น ให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของเจเนอเรชั่นใหม่ๆ องค์กรดูแลพนักงานแบบเดิมๆ คือ ซื้อประกัน ค่ารักษาพยาบาล จากนี้ไปเราจะเริ่มเห็นการดูแลพนักงานเปลี่ยนมาเป็นอะไรที่ยืดหยุ่นขึ้น เช่น ซื้อประกันบางส่วน ไม่ซื้อประกันบางส่วน เพราะงานเคลมประกันเป็นภาระ HR และการเงิน ในการเบิกจ่ายเคลียร์เอกสาร แต่ถ้าเป็น HR Tech งาน HR ไม่ต้องทำอะไรมาก ระบบจัดการให้หมด โอนเงินเข้า ค่ารักษาพยาบาล เป็นความยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นในหลายๆ องค์กร

ในระดับพนักงานเราจะได้ยินคำว่า flexi benefit โลกตะวันตก โลกพัฒนาแล้ว เขาจะให้สวัสดิการแบบยืดหยุ่น เมืองไทยพยายามทำ แต่ล้มเหลว เพราะไม่มี platform มารองรับ ทำให้ HR ทำงานลำบาก เพราะว่าจุกจิกหยุมหยิมมาก flexi benefit คือให้ทางเลือกพนักงานในการเลือกสวัสดิการตามงบประมาณ 1 คนมี 1 ทางเลือก HR แทบกระอักตายเพราะต้องมาเก็บข้อมูลรายคน แต่ flexi benefit ระดับพนักงาน เป็นสิ่งที่องค์กรหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าต้องการเป็นองค์กรชั้นนำที่ซื้อใจพนักงานได้ และลงทุนกับพนักงาน แล้วพนักงานก็ชื่นชมกับสิ่งที่บริษัทจ่ายให้

อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ digital transformation ทำให้ชุดทักษะบางอย่างของพนักงานหมดความสำคัญลง ทำอย่างไรให้คนเหล่านั้นมีอนาคตต่อไป ทางออกคงไม่ใช่เลย์ออฟ แต่เรากำลังพูดถึงการ reskill, upskill พอมี HR Tech ทุกอย่างอัตโนมัติมากขึ้น ใช้ผ่าน employee self service ทำให้งานแอดมินบางส่วนไม่มีความหมายกับองค์กร หลายงานจำเจต้อง outsource ให้มืออาชีพมาทำ อย่างงาน pay roll ไม่มีคุณค่าในเชิงธุรกิจ แต่เป็นเรื่องที่พลาดไม่ได้ผิดไม่ได้ เพราะกระทบพนักงานทุกคน พวกนี้ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมาทำ เพราะงาน pay roll เป็นงานที่ไม่มีอนาคตให้เขา มันไม่มีตำแหน่ง pay roll director ในองค์กรไหน ทางที่ดีที่สุดคือ outsource ไป แล้ว HR ก็ไปทำเรื่องกลยุทธ์แทน

นอกจากนี้ ในเรื่องของ performance management ตัว HR Tech ก็เข้ามาช่วยได้มาก ในการวัดผลองค์กรปีละครั้ง จากการทำแบบเดิมๆ ที่โกลาหลทุกปี เพราะต้องแก้กลับไปกลับมา แต่การทำให้ระบบประเมินผลอยู่บนดิจิทัล และวัดผลงานได้ต่อเนื่องหลายปี แทนที่จะประเมินผลปีละครั้ง หรือสองครั้ง ทำให้การวัดผล 360 องศาเป็นธรรมมากขึ้น เราคงเคยได้ยินว่า บริษัทจ้างพนักงาน แต่ผู้จัดการไล่พนักงานออก เพราะประเมินไม่ดี

อีกเรื่องที่สำคัญคือ employer branding เราไม่สามารถรอให้คนมาสมัครงานกับเราอีกต่อไป ต้องสร้างองค์กรให้มีแรงดึงดูดให้คนที่ยังไม่เป็นพนักงานมาสมัครงานกับเรา แล้วมีเครื่องไม้เครื่องมือคัดสรรให้ได้คนที่ fit กับองค์กร จะล้อไปถึงเรื่องการสร้างวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งให้องค์กร เริ่มตั้งแต่การคัดคนเข้ามา ระบบเทคโนโลยีจะช่วยตรวจจับคนที่ไม่ใช่ได้เร็วที่สุด



คุณสุนทรสรุปว่า HR Tech จะช่วยให้ HR สามารถเปลี่ยนตัวเองจากการใช้เวลาทำ HR admin ซึ่งเป็นฐานล่างของปิรามิด มากลับหัวปิรามิดให้ฐานอยู่ข้างบน แล้วทำบทบาททางด้านกลยุทธ์ ภายใต้การรองรับ 3 อย่างคือ
1. ต้องมีเทคโนโลยีที่ดีเป็นระบบ มีกระบวนการที่เป็น best practice
2. มีการ redesign ของ HR process และกระจายอำนาจให้พนักงานทำ employee self service มากขึ้น
3. outsource งานที่ไม่สำคัญแต่จำเป็นออกไป แล้วโฟกัสเฉพาะกลยุทธ์ HR

คุณสันติสุข กุลปิยะ หัวหน้าฝ่ายธุรกิจประจำประเทศไทย บริษัท Darwinbox Thailand จำกัด เล่าว่า ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาการบริหารคนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา องค์กรต้องมีความยืดหยุ่นสูงมาก ต้องมีความพร้อม เพราะปัจจุบันคนเก่งเป็นของหายาก มีค่ามากกว่าทอง การเฟ้นหาคนเก่งนับวันจะมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ การดึงดูดคนให้มาอยู่กับองค์กรจึงมีความสำคัญมากๆ การดึงคนเก่งต้องเข้าใจธรรมชาติของคนทำงานยุคนี้ ที่เชี่ยวชาญการใช้เทคโนโลยี

สาเหตุที่คนลาออกมาจากหลักๆ เลยคือ องค์กรมองไม่เห็นความสำคัญ พนักงานไม่ได้พูดถึงเรื่องเงินเดือน แต่แค่ทำงานหนัก ทำงานดี องค์กรยังไม่รู้เลย องค์กรจึงต้องหาวิธี จับคนกลุ่มนี้เข้ามาทำงานให้ได้ และการไม่รักษาคน ต้องปรับมาใช้ระบบการบริหารคนที่มีความคล่องตัวสูง

“Darwinbox คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ระบบโซลูชั่นของเรา จะเน้นการดูแลคนตั้งแต่รับเข้ามา จาก hire to retire พัฒนาให้เติบโต สร้างความผูกพันกับองค์กร มีระบบประเมินผลที่ชัดเจน ทำให้คนเก่ง และเป็นกำลังสำคัญขององค์กรต่อไป”

/////////////

Quote


คุณวิเชียร ชนาเทพาพร ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการบริหาร บริษัท ท็อปกัน จำกัด

“Job TopGun พัฒนาระบบ you say, HR say เป็นการรีวิวบริษัท ว่าบริษัทไหนมีมาตรฐานที่ดี ในเรื่องของชีวิตดี งานดี เงินดี สังคมดี มีรีวิว 20,000 รีวิว ยกย่องเชิดชูบริษัทที่มีมาตรฐานเหนือกว่าตลาด”

คุณสุนทร เด่นธรรม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฮิวแมนิก้า จำกัด (มหาชน)

“มันไม่ใช่เรื่องของการลงไอทีแล้ว เพราะ digital transform ไม่ใช่ไอที แต่เป็นกระบวนการทำงานที่ต้องออกแบบมา ปรับปรุง แล้วเอาระบบมาจับ HR Tech มาช่วยให้กระบวนการทำงานของ HR มีประสิทธิภาพ กลายเป็นคู่คิดของผู้บริหารในเชิงกลยุทธ์”

คุณสันติสุข กุลปิยะ หัวหน้าฝ่ายธุรกิจประจำประเทศไทย บริษัท Darwinbox Thailand จำกัด

“ปัจจุบันคนเก่งเป็นของหายาก มีค่ามากกว่าทอง การเฟ้นหาคนเก่งนับวันจะมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ การดึงดูดคนให้มาอยู่กับองค์กรจึงมีความสำคัญมากๆ”

ดร.บวรนันท์ ทองกัลยา นายกสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย

“เรามีนิทรรศการกว่า 100 บูธ ถือเป็นอีกจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ทำให้การบริหารทรัพยากรมนุษย์สามารถให้อำนาจศักยภาพของคนได้เต็มที่ ผ่านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเปลี่ยนผ่าน HR ทั้งระบบ เปลี่ยนในเรื่องการบริหารคนอย่างไรให้เก่งขึ้น ดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น และสามารถสร้างคนให้เก่งขึ้นผ่าน HR Tech”

///////////////////////////