สรุปรวม
การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพการบริหารงานบุคคล จำแนกออกเป็น 5 ชั้น โดยเชื่อมโยงกับกรอบคุณวุฒิวิชาชีพแห่งชาติ (Thailand Professional Qualification Framework : TPQF) ดังนี
Thailand HRCI มีขอบข่ายการรับรอง ประกอบด้วย
คุณวุฒิวิชาชีพระดับ 3
รับรองคุณวุฒิวิชาชีพ จำแนกตามสาขาอาชีพที่ขอรับรอง เป็นนักบริหารงานบุคคลระดับผู้ปฏิบัติงาน (HR Practitioner-HRP) จำแนกเป็น 4 อาชีพ ประกอบด้วย
1) สาขาอาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล อาชีพสรรหาและคัดเลือกบุคลากร
2) สาขาอาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล อาชีพบริหารค่าตอบแทน
3) สาขาอาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล อาชีพพนักงานสัมพันธ์
4) สาขาอาชีพพัฒนาทรัพยากรบุคคล อาชีพเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรบุคคล
คุณวุฒิวิชาชีพระดับ 4
รับรองคุณวุฒิวิชาชีพ จำแนกตามสาขาอาชีพที่ขอรับรอง เป็นนักบริหารงานบุคคลระดับผู้เชี่ยวชาญหรือผู้บริหารระดับต้น (HR Professional-PHR) จำแนกเป็น 8 อาชีพ ประกอบด้วย
1) สาขาอาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล อาชีพสรรหาและคัดเลือกบุคลากร
2) สาขาอาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล อาชีพบริหารค่าตอบแทน
3) สาขาอาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล อาชีพพนักงานสัมพันธ์
4) สาขาอาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล อาชีพวางแผนอัตรากำลัง
5) สาขาอาชีพพัฒนาทรัพยากรบุคคล อาชีพเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรบุคคล
6) สาขาอาชีพพัฒนาทรัพยากรบุคคล อาชีพบริหารผลงาน
7) สาขาอาชีพพัฒนาทรัพยากรบุคคล อาชีพบริหารความก้าวหน้าในสายอาชีพ
8) สาขาอาชีพพัฒนาองค์การ อาชีพนักพัฒนาองค์การ
คุณวุฒิวิชาชีพระดับ 5
รับรองคุณวุฒิวิชาชีพ จำแนกตามสาขาอาชีพที่ขอรับรอง เป็นนักบริหารงานบุคคลระดับผู้เชี่ยวชาญอาวุโส, ผู้บริหารระดับต้นหรือระดับกลาง (Senior HR Professional-SPHR) จำแนกเป็น 8 อาชีพ ประกอบด้วย
1) สาขาอาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล อาชีพสรรหาและคัดเลือกบุคลากร
2) สาขาอาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล อาชีพบริหารค่าตอบแทน
3) สาขาอาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล อาชีพพนักงานสัมพันธ์
4) สาขาอาชีพบริหารทรัพยากรบุคคล อาชีพวางแผนอัตรากำลัง
5) สาขาอาชีพพัฒนาทรัพยากรบุคคล อาชีพเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรบุคคล
6) สาขาอาชีพพัฒนาทรัพยากรบุคคล อาชีพบริหารผลงาน
7) สาขาอาชีพพัฒนาทรัพยากรบุคคล อาชีพบริหารความก้าวหน้าในสายอาชีพ
8) สาขาอาชีพพัฒนาองค์การ อาชีพนักพัฒนาองค์การ
คุณวุฒิวิชาชีพระดับ 6HR Expert-EHR
รับรองคุณวุฒิวิชาชีพ เป็นนักบริหารงานบุคคลระดับผู้ชำนาญการหรือผู้บริหารระดับกลาง (HR Expert-EHR) ในสาขาอาชีพบริหารงานบุคคลเชิงกลยุทธ์ อาชีพบริหารทรัพยากรบุคคลและองค์การ
คุณวุฒิวิชาชีพระดับ 7
รับรองคุณวุฒิวิชาชีพ เป็นนักบริหารงานบุคคลระดับผู้ชำนาญการพิเศษหรือผู้บริหารระดับสูง (Senior HR Expert-SEHR) ในสาขาอาชีพบริหารงานบุคคลเชิงกลยุทธ์ อาชีพบริหารทรัพยากรบุคคลและองค์การ
โดยผู้ขอรับการรับรองในคุณวุฒิวิชาชีพระดับ 3 HR Practitioner (HRP) ผู้ปฏิบัติงาน สามารถเลือกสอบได้ 1 สมรรถนะในอาชีพ การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร (Recruitment & Selection) การบริหารค่าตอบแทน (Remuneration Management) การพนักงานสัมพันธ์ (Employee Relations) การเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Learning & Development)
ส่วนในคุณวุฒิวิชาชีพระดับ 4 HR Professional (PHR) ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้บริหารระดับต้น และ คุณวุฒิวิชาชีพระดับ 5 Senior HR Professional (SPHR) ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส, ผู้บริหารระดับต้นหรือระดับกลาง สามารถเลือกสอบได้ 1 สมรรถนะในอาชีพ การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร (Recruitment & Selection) การบริหารค่าตอบแทน (Remuneration Management) การพนักงานสัมพันธ์ (Employee Relations) การเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรบุคคล (Learning & Development) การวางแผนอัตรากำลัง (Workforce Planning) การบริหารผลงาน (Performance Management) การบริหารความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Management) การพัฒนาองค์การ (Organization Development)
สำหรับคุณวุฒิวิชาชีพระดับ 6 HR Expert (EHR) ผู้ชำนาญการหรือผู้บริหารระดับกลาง และ คุณวุฒิวิชาชีพระดับ 7 Senior HR Expert (SEHR) ผู้ชำนาญการพิเศษหรือผู้บริหารระดับสูง ต้องสอบทุกสมรรถนะ
เกณฑ์การพิจารณาผลการผ่านมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพบริหารงานบุคคล ถือหลักเกณฑ์ดังนี้
มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพบริหารงานบุคคลระดับ 3 น้ำหนักของเครื่องมือการประเมินมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพบริหารงานบุคคลระดับ 3 ถูกกำหนดโดยแบ่งน้ำหนักออกเป็น
1) แฟ้มสะสมผลงาน คิดเป็นร้อยละ 10 จากคะแนนรวม 100 คะแนน
2) การสอบข้อเขียน คิดเป็นร้อยละ 90 จากคะแนนรวม 100 คะแนน
การพิจารณาผู้ที่มีคุณสมบัติผ่านการรับรองมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพบริหารงานบุคคลระดับ 3 จะต้องผ่านเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
1) ผู้เข้ารับการประเมินมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพบริหารงานบุคคลจะต้องมีผลคะแนนการสอบข้อเขียนแต่ละชุด มากกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม
2) ผู้เข้ารับการประเมินมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพบริหารงานบุคคลจะต้องมีผลคะแนนรวมของทุกเครื่องมือ รวมกันมากกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนรวม
มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพบริหารงานบุคคลระดับ 4 น้ำหนักของเครื่องมือการประเมินมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพบริหารงานบุคคลระดับ 4 ถูกกำหนดขั้นตอนการพิจารณาออกเป็น 2 ขั้นตอน โดยแบ่งน้ำหนักออกเป็น
การพิจารณาขั้นที่ 1
1) แฟ้มสะสมผลงาน คิดเป็นร้อยละ 20 จากคะแนนรวม 100 คะแนน
2) การสอบข้อเขียน คิดเป็นร้อยละ 80 จากคะแนนรวม 100 คะแนน
การพิจารณาขั้นที่ 2
1) การสัมภาษณ์
การพิจารณาผู้ที่มีคุณสมบัติผ่านการรับรองมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพบริหารงานบุคคลระดับ 4 จะต้องผ่านเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
1) ผู้เข้ารับการประเมินมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพบริหารงานบุคคลจะต้องมีผลคะแนนการสอบข้อเขียนแต่ละชุด มากกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม
2) ผู้เข้ารับการประเมินมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพบริหารงานบุคคลจะต้องมีผลคะแนนรวมของการสอบข้อเขียนและการพิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน มากกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนรวม จึงจะมีสิทธิเข้ารับการพิจารณาโดยการสัมภาษณ์ ผลการสัมภาษณ์จะได้รับการพิจารณาโดยคณะกรรมการสอบ (Examiner) ว่าผ่านหรือไม่ผ่าน โดยเอกฉันท์ กำหนดเวลาในการสัมภาษณ์ 45 นาที
3) ผลการประเมินฯของคณะกรรมการสอบ (Examiner) ถือเป็นที่ยุติ และคณะกรรมการสอบ (Examiner) จะแจ้งการพิจารณาผลการรับรองมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพบริหารงานบุคคลให้แก่ผู้ขอเข้ารับการประเมินฯ โดยเร็วต่อไป
มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพบริหารงานบุคคลระดับ 5 น้ำหนักของเครื่องมือการประเมินมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพบริหารงานบุคคลระดับ 5 ถูกกำหนดขั้นตอนการพิจารณาออกเป็น 2 ขั้นตอน โดยแบ่งน้ำหนักออกเป็น
การพิจารณาขั้นที่ 1
1) แฟ้มสะสมผลงาน คิดเป็นร้อยละ 30 จากคะแนนรวม 100 คะแนน
2) การสอบข้อเขียน คิดเป็นร้อยละ 70 จากคะแนนรวม 100 คะแนน
การพิจารณาขั้นที่ 2
1) การสัมภาษณ์
การพิจารณาผู้ที่มีคุณสมบัติผ่านการรับรองมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพบริหารงานบุคคลระดับ 5 จะต้องผ่านเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
1) ผู้เข้ารับการประเมินมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพบริหารงานบุคคลจะต้องมีผลคะแนนการสอบข้อเขียนแต่ละชุด มากกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม
2) ผู้เข้ารับการประเมินมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพบริหารงานบุคคลจะต้องมีผลคะแนนรวมของการสอบข้อเขียนและการพิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน มากกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนรวม จึงจะมีสิทธิเข้ารับการพิจารณาโดยการสัมภาษณ์ ผลการสัมภาษณ์จะได้รับการพิจารณาโดยคณะกรรมการสอบ (Examiner) ว่าผ่านหรือไม่ผ่าน โดยเอกฉันท์ กำหนดเวลาในการสัมภาษณ์ 70 นาที
3) ผลการประเมินฯของคณะกรรมการสอบ (Examiner) ถือเป็นที่ยุติ และคณะกรรมการสอบ (Examiner) จะแจ้งการพิจารณาผลการรับรองมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพบริหารงานบุคคลให้แก่ผู้ขอเข้ารับการประเมินฯ โดยเร็วต่อไป
มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพบริหารงานบุคคลระดับ 6 น้ำหนักของเครื่องมือการประเมินมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพบริหารงานบุคคลระดับ 6 ถูกกำหนดขั้นตอนการพิจารณาออกเป็น 2 ขั้นตอน โดยแบ่งน้ำหนักออกเป็น
การพิจารณาขั้นที่ 1
1) แฟ้มสะสมผลงาน คิดเป็นร้อยละ 40 จากคะแนนรวม 100 คะแนน
2) การสอบข้อเขียน คิดเป็นร้อยละ 60 จากคะแนนรวม 100 คะแนน
การพิจารณาขั้นที่ 2
1) การสัมภาษณ์
การพิจารณาผู้ที่มีคุณสมบัติผ่านการรับรองมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพบริหารงานบุคคลระดับ 6 จะต้องผ่านเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
1) ผู้เข้ารับการประเมินมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพบริหารงานบุคคลจะต้องมีผลคะแนนการสอบข้อเขียนแต่ละชุด มากกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม
2) ผู้เข้ารับการประเมินมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพบริหารงานบุคคลจะต้องมีผลคะแนนรวมของการสอบข้อเขียนและการพิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน มากกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนรวม จึงจะมีสิทธิเข้ารับการพิจารณาโดยการสัมภาษณ์ ผลการสัมภาษณ์จะได้รับการพิจารณาโดยคณะกรรมการสอบ (Examiner) ว่าผ่านหรือไม่ผ่าน โดยเอกฉันท์ กำหนดเวลาในการสัมภาษณ์ 90 นาที
3) ผลการประเมินฯของคณะกรรมการสอบ (Examiner) ถือเป็นที่ยุติ และคณะกรรมการสอบ (Examiner) จะแจ้งการพิจารณาผลการรับรองมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพบริหารงานบุคคลให้แก่ผู้ขอเข้ารับการประเมินฯ โดยเร็วต่อไป
มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพบริหารงานบุคคลระดับ 7 ผู้เข้ารับการประเมินมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพบริหารงานบุคคลระดับ 7 จะได้รับการพิจารณาจาก
1) แฟ้มสะสมผลงาน
2) การสัมภาษณ์
การพิจารณาผู้ที่มีคุณสมบัติผ่านการรับรองมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพบริหารงานบุคคลระดับ 7 จะต้องผ่านเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
การประเมินผู้เข้ารับการประเมินมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพบริหารงานบุคคลระดับ 7 จะถูกประเมินโดยการพิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน โดยต้องมีคะแนนมากกว่าร้อยละ 70 จึงจะมีสิทธิเข้ารับการสอบสัมภาษณ์ คณะกรรมการสอบ (Examiner) กำหนดเวลาในการสัมภาษณ์ 180 นาที การประเมินโดยคณะกรรมการสอบ (Examiner) และผลการพิจารณาของคณะกรรมการสอบ (Examiner) ถือเป็นที่ยุติ โดยต้องได้รับการพิจารณาให้ผ่านการสัมภาษณ์อย่างเป็นเอกฉันท์